
ความหมายของคอมพิวเตอร์
ความหมายของคอมพิวเตอร์
วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560
คอมพิวเตอร์แบบฝังตัว
ะบบฝังตัว หรือ สมองกลฝังตัว (embedded system) คือระบบประมวลผล ที่ใช้ชิปหรือไมโครโพรเซสเซอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อเพิ่มความฉลาด ความสามารถให้กับอุปกรณ์เหล่านั้นผ่านซอฟต์แวร์ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ระบบฝังตัวถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในยานพาหนะ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและสำนักงาน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีเครือข่ายเน็ตเวิร์ก เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีเครื่องกลและของเล่นต่าง ๆ คำว่าระบบฝังตัวเกิดจาก การที่ระบบนี้เป็นระบบประมวลผลเช่นเดียวกับระบบคอมพิวเตอร์ แต่ว่าระบบนี้จะฝังตัวลงในอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันระบบสมองกลฝังตัวได้มีการพัฒนามากขึ้น โดยในระบบสมองกลฝังตัวอาจจะประกอบไปด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์ อุปกรณ์ที่ใช้ระบบสมองกลฝังตัวที่เห็นได้ชัดเช่นโทรศัพท์มือถือ และในระบบสมองกลฝังตัวยังมีการใส่ระบบปฏิบัติการต่างๆแตกต่างกันไปอีกด้วย ดังนั้น ระบบสมองกลฝังตัวอาจจะทำงานได้ตั้งแต่ควบคุมหลอดไฟจนไปถึงใช้ในยานอวกาศ

คอมพิวเตอร์ขนาดฝ่ามือ
6. คอมพิวเตอร์ฝ่ามือ (Hand-held Personal Computer)
6. คอมพิวเตอร์ฝ่ามือ (Hand-held Personal Computer)ปาล์มท็อป Palmtop Computer) หรือเครื่องพีซีขนาดมือถือ หรือเครื่องพีดีเอ(Personal Digital Assistant-PDA) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับเครื่องคิดเลขขนาดเล็ก น้ำหนักเบามาก จึงสามารถวางบนฝ่ามือได้โดยมีสมรรถนะในการทำงานเฉพาะกับโปรแกรมสำหรับงานส่วนบุคคล เช่น การรับส่งอี–เมล์ การบันทึกตารางนัดหมาย และการเข้าถึงข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เครื่อง PDA
(Personal Digital Assistant) บางครั้งก็ เรียกว่า Pen-based Computer เนื่องจากเป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ใช้ปากกาที่เรียกว่า สไตลัส(Stylus) เป็นอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล ในบางครั้งก็จะใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลด้วยลายมือลงบนหน้าจอ และในบางครั้งอาจจะใช้ปากกานี้สำหรับเป็นอุปกรณ์เพื่อเลือกการทำงานบนจอภาพ ซึ่ง Personal Digital Assistant ในปัจจุบันนอกจากจะทำ
หน้าที่พื้นฐานทั่วไปแล้วยังสามารถรับ–ส่งอีเมล์ และส่งโทรสาร (Fax) ได้ด้วย

คอมพิวเตอร์มือถือ
ี คอมพิวเตอร์มือถือ ( Handheld Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กที่สุด
เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ประเภทอื่น ๆ อีกทั้งสามารถพกพาไปยังที่ต่าง ๆ ได้ง่ายกว่า ประโยชน์ของการใช้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้อาจนำไปใช้กับการจัดการข้อมูลประจำวัน การสร้างปฏิทินนัดหมาย การดูหนัง ฟังเพลง รวมถึงการรับส่งอีเมล์ บางรุ่นอาจมีความสามารถเทียบเคียงได้กับไมโครคอมพิวเตอร์ทีเดียว คอมพิวเตอร์ในกลุ่มนี้ ที่รู้จักและนิยมกันอย่างดี เช่น ปาล์ม, พ็อกเก็ตพีซี เป็นต้นนอกจากนี้โทรศัพท์มือถือบางรุ่นก็มีความสามารถใกล้เคียง กับคอมพิวเตอร์มือถือในกลุ่มนี้ในแง่ของการรันโปรแกรมจัดการกับข้อมูลทั่วไป โดยใช้ระบบปฏิบัติการ Symbian หรือไม่ก็ Linux | |||
เน็ตบุ๊คคอมพิวเตอร์
เน็ตบุ๊ก (อังกฤษ: Netbook) คือชื่อที่ใช้เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดปกติของเครื่องแล็ปท็อปทั่วไป มีน้ำหนักเบา ต้นทุนต่ำ ใช้พลังงานเท่าที่จำเป็น เน็ตบุ๊กโดยทั่วไปถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่อาศัยอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นฐาน เช่นการอ่านเว็บ หรือการใช้อีเมล
เครื่องคอมพิวเตอร์เน็ตบุ๊กที่มีการผลิตออกมาจำหน่ายเช่น Acer Aspire One, ASUS Eee PC, HP 2133 Mini-Note, MSI Wind
ฮาร์ดแวร์[แก้]
ลักษณะของเน็ตบุ๊กจะมีขนาดที่เล็กกว่าโน้ตบุ๊ก มีน้ำหนักที่เบามาก อาจหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัม มีหน้าจอขนาดเล็ก (7 - 10 นิ้ว) มีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย แต่ไม่มีช่องสำหรับใส่ซีดี และมีแป้นพิมพ์ที่ค่อนข้างเล็ก อุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลภายในเครื่องมีการใช้ทั้งแบบฮาร์ดดิสก์และ solid-state drives
ประวัติ[แก้]
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซี
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (อังกฤษ: Personal computer) หรือ พีซี (อังกฤษ: PC) สำหรับใช้ส่วนบุคคล แต่ในปัจจุบันยังหมายรวมถึง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (desktop computer) คอมพิวเตอร์แบบพกพา (laptop computer) และคอมพิวเตอร์แบบรับข้อมูลด้วยการเขียนบนจอภาพ (tablet computer) โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating systems) ที่นิยมใช้ได้แก่ โปรแกรม Microsoft Windows, โปรแกรม Mac OS X และ Linux โดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) นิยมใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ตระกูล x86 (x86-compatible CPUs) , ARM architecture CPUs และ PowerPC CPUs โปรแกรมประยุกต์ (application software) ได้แก่ โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) โปรแกรมตารางคำนวณ (spreadsheets) โปรแกรมฐานข้อมูล (databases) โปรแกรมเกมส์ และโปรแกรมสนับสนุนการทำงานส่วนบุคคลอีกมากมาย เครื่องพ๊ซีที่ทันสมัยจะมาพร้อมกับอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (high-speed internet) หรือ โมเด็ม ให้ผู้ใช้ได้เข้าถึง World Wide Web และแหล่งข้อมูลมหาศาล
เครื่องพีซีอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้าน (home computer) หรืออาจพบใช้ในงานสำนักงานที่มักจะเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายท้องถิ่น (local area network) ลักษณะเด่นจะเป็นเครื่องที่ถูกใช้งานโดยคนเพียงคนเดียว ซึ่งต่างจากระบบประมวลผลแบบ batch processing หรือ time-sharing ที่มีความซับซ้อน ราคาแพง มีการใช้งานจากคนหมู่มากพร้อม ๆ กัน หรือระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องการทีมทำงานเต็มเวลาคอยควบคุมการทำงาน
ผู้ใช้ "PC" ในยุคแรกต้องเขียนโปรแกรมขึ้นใช้งานเอง แต่มาในปัจจุบัน ผู้ใช้มีโปรแกรมให้เลือกใช้ที่หลากหลายทั้งแบบที่ซื้อขายเชิงพาณิชย์และไม่เชิงพาณิชย์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ติดตั้งได้ง่าย
คำว่า "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" เริ่มมีใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) สำหรับกล่าวถึงเครื่อง Xerox PARC ของบริษัท Xerox Alto อย่างไรก็ตามจากความประสบความสำเร็จของไอบีเอ็มพีซี ทำให้การใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหมายถึง เครื่องไอบีเอ็มพีซี
- เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นพีซี ของไอบีเอ็ม ซึ่งเป็นที่มาของคำดังกล่าว - ดู ไอบีเอ็มพีซี
- คำสามัญ สำหรับเรียกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เข้ากันได้กับข้อกำหนดจำเพาะของไอบีเอ็ม (IBM compatible)
- คำสามัญ ที่บางครั้งใช้เรียกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทุกชนิด
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล[แก้]
เครื่องคอมพิวเตอร์จะแบ่งออกเป็น ส่วนของฮาร์ดแวร์ (Hardware) และ ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่ง ส่วนของ Hardware จะประกอบด้วย
- CPU หรือ หน่วยประมวลผลกลาง
- ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket)
- ชิปเซต (Chip Set)
- เมนบอร์ด (mainboard) หรือ มาเธอร์บอร์ด (motherboard)
- หน่วยความจำหลัก (Memory) แบ่งออกเป็น รอม (Read-Only Memory, ROM) และ แรม (Random-Access Memory, RAM)
- หน่วยความจำสำรอง (Harddisk)
- Compact Disc (CD) แผ่นซีดี (ซีดี)
- การ์ดแสดงผล (Display Card)
- การ์ดเสียง (Sound Card)
- จอภาพ (Monitor)
- เคส (Case)
- เมาส์ (Mouse)
- แป้นพิมพ์ (Keyboard)
ชนิดของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล[แก้]
- คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computer) สมัยก่อนที่เครื่อง พีซี จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย หากมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดพอวางบนโต๊ะทำงานได้ก็ถือว่ามีขนาดเล็กแล้ว ปัจจุบัน "คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ" สื่อความไปในทางรูปทรงของตัวเครื่อง (computer case) ที่มีหลากหลายนับแต่รูปทรงตั้งสูงขนาดใหญ่แบบ หอคอย (tower case) หรือ ทรงเล็ก (small form factor) ที่วางแอบไว้หลังจอภาพ LCD ได้ คำว่า Desktop จึงหมายถึงรูปทรงของตัวเครื่องที่หลากหลาย ซึ่งปกติพยายามจะจัดวางโดยให้จอภาพวางอยู่บนตัวเครื่องเพื่อประหยัดพื้นที่วางบนโต๊ะทำงานนั่นเอง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในปัจจุบันจะมีส่วนของจอภาพ และแป้นพิมพ์แยกจากกัน
- Nettop เป็นชนิดที่แตกแขนงมาจาก คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ชื่อ Nettop ถูกเรียกขานโดยบริษัท อินเทล ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 ซึ่งหมายถึงคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่ปรับลดต้นทุนและความสามารถลงซึ่งก็คล้ายกับเครื่องแบบ Netbook
- คอมพิวเตอร์ขนาดวางตัก (Laptop) หรือเรียกว่า คอมพิวเตอร์ขนาดสมุดจดบันทึก (notebook) เป็นเครื่องพีซีที่มีขนาดเล็กลง นำหนักเบา เคลื่อนย้ายสะดวก ประหยัดพลังงาน มีแบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงานเสริมเพื่อสะดวกในการใช้งานในสถานที่ไม่สะดวกจะใช้ไฟบ้าน
- เน็ตบุ๊ก (Netbook) เป็นการปรับเครื่องแล็ปทอปให้มีขนาดเล็ก นำหนักเบาขึ้น ประหยัดพลังงาน พกพาสะดวก ทำให้สามารถใช้งานขณะเคลื่อนที่ได้ ต่างจาก Laptop ที่เคลื่อนย้ายสะดวก แต่ขณะใช้งานเครื่องจะวางอยู่กับที่ Netbook จึงมีขนาดเล็กกว่า Laptop ข้อเด่นของเครื่องแบบนี้คือการใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สาย เครื่องมีขนาดจอภาพระหว่าง 7" ถึง 9" ตั้งค่าความละเอียดในการแสดงภาพที่ค่า 800x600 และ 1024x768 หน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรองขนาด 4 GB ถึง 16 GB ตัวอย่างได้แก่เครื่อง Eee PC
- คอมพิวเตอร์แบบรับข้อมูลด้วยการเขียนบนจอภาพ (Tablet PC)
เพื่อให้เครื่องแล็ปทอปมีความคล่องตัวในการใช้งานได้ขณะที่ผู้ใช้ไม่ได้นั่งทำงานกับที่ จึงออกแบบให้สามารถหมุนจอภาพได้ 180 องศา และพับจอภาพลงปิดตัวเครื่องฯ และแป้นพิมพืโดยมีจอภาพหันออกทางด้านบนสภาพเหมือนตอนปิดฝาปิดเครื่อง จอภาพเป็นแบบสัมผัส (touch screen) ใช้รับคำสั่งจากผู้ใช้จากเขียนด้วยปากกา (stylus pen) หรือนิ้วสัมผัส แทนการใช้แป้นพิมพ์และเมาส์ เกิดความคล่องตัวขณะใช้งานที่อาจต้องเคลื่อนที่ตัวเครื่องตลอดเวลา ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้ notebook
- คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ขนาดกะทัดรัด (Ultra-mobile PC : UMPC) เป็น tablet PC ขนาดเล็กเป็นการพัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัทไมโครซอฟ์ท บริษัทอินเทล และบริษัทแซมซุง อาจใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการเป็น Windows XP tablet PC edition 2005 , Windows Vista Home premium edition หรือ Linux ใช้ CPU ที่ใช้พลังงานน้อยของ Intel Pentium หรือ VIA C7-M ที่สัญญาณนาฬิกาประมาณ 1 GHz
- Home theater PC (HTPC) เป็นอุปกรณ์ที่รวมความสามารถของเครื่องพีซีและเครื่องเล่นวิดีโอแบบดิจิตอลเข้าไว้ในอุปกรณ์ที่มีรูปร่างเหมือนเครื่องเล่นวิดีโอทั่วไป และอาจมีแป้นพิมพ์ โดยเชื่อมต่อกับโทรทัศน์หรือจอภาพคอมพิวเตอร์ขนาดเท่าโทรทัศน์ ใช้ในกิจกรรมความบันเทิงภายในครอบครัว เช่น ชมภาพยนตร์ ภาพถ่าย ฟังเพลง วัตถุประสงค์หลักคือทำให้เราสามารถโปรแกรมการทำงานของโทรทัศน์แบบ home theater และเครื่องเล่นวิดีโอแบบดิจิตอลได้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เช่น Windows Media Center ตั้งโปรแกรมการรับชม หรือบันทึกรายการที่ต้องการได้
โน๊ตบ๊คคอมพิวเตอร์
แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: laptop computer) หรือเรียกย่อว่า แล็ปท็อป หรือ โน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ (Notebook computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดเล็ก สามารถขนย้ายหรือพกพาได้สะดวก โดยปกติจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1-3 กก. การทำงานของแล็ปท็อปจะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงจากการเสียบปลั๊กไฟ ประสิทธิภาพของแล็ปท็อปโดยทั่วไปนั้นเทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบปกติ ในขณะที่ราคาของแล็ปท็อปจะสูงกว่า โดยส่วนที่จะแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปคือ จอภาพจะเป็นลักษณะจอแอลซีดี และจะมีทัชแพดที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของลูกศรบริเวณหน้าจอ
ไมโครคอมพิวเตอร์
มินิคอมพิวเตอร์
มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตามจุดเด่นสำคัญ ของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือ ราคาย่อมเยากว่าเมนเฟรม การใช้งานก็ไม่ต้องใช้ บุคลากรมากนัก นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่รู้วิธีใช้มากกว่าด้วย เพราะเครื่องประเภทนี้ มีใช้ตามสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาหลายแห่ง
มินิคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานหลากหลายประเภท คือใช้ได้ทั้งในงานวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม เครื่องที่มีใช้ตามหน่วยงานราชการระดับกรมส่วนใหญ่ มักจะเป็นเครื่องประเภทนี้
เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับความนิยมใช้กันมี บริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC เครื่อง Unisys ของบริษัท Unisys เครื่อง NEC ของบริษัท NEC เครื่อง Nixdorf ของบริษัท Siemens-Nixdorf


ซูเปอณ์คอมพิวเตอร์
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับชึ้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงานอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) ซึ่งมีความเร็วสูง เช่น งานการวิจัยนิวเคลียร์ งานควบคุมทางอวกาศ งานประมวลผลภาพทางการแพทย์ ด้านการทหาร วิศวกรรมเคมีภัณฑ์ปิโตรเลียม เช่น การสร้างโมเดลที่สามารถประมวลผลด้านความซับซ้อนสูงในการจำลองการประมวลผลต่างๆ รวมทั่วใช้วิจัยพันธุกรรมในมนุษย์หรือโครงสร้างดีเอ็นเอ ซึ่งมีมากกว่า 80,000 ถึง 100,000 ยีนในร่างกายของมนุษย์ งานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางด้านเคมี เภสัชวิทยา และงานด้านวิศวกรรมการออกแบบ และเนื่องจากราคาของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) สูงมาก จึงมักมีการใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น หน่วยงานที่มีกำลังความสามารถในการนำไปใช้เพื่องานวิจัย ก็คือหน่วยงานขององค์การรัฐบาล ธุรกิจที่มี
ขนาดใหญ่มากและมหาวิทยาลัย
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูงที่สุดในกลุ่มมีขนาดใหญ่ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) สามารถประมวลผลข้อมูลในปริมาณมากรวมถึงการประมวลผลงานที่มีรูปแบบอันซับซ้อน มีความรวดเร็วในการคำนวณได้มากกว่าหนึ่งล้านล้านต่อวินาที ( 1 Trillion calculations per second ) ภายในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับโปรเซสเซอร์ได้มากกว่า 100 ตัว หน่ายวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์นี้คือ หน่วยจิกะฟลอบ (Gigaflop)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ของเครื่องเมนเฟรมมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับผู้ใช้ได้หลายร้อยคนพร้อม ๆ กันซึ่งผู้ใช้เหล่านั้นอาจจะนั่งทำงานอยู่ใกล้เครื่องเมนเฟรมหรืออาจจะอยู่ที่อื่นซึ่งไกลออกไปก็ได้เครื่องเมนเฟรมจะเก็บโปรแกรมของผู้ใช้เหล่านั้นไว้ในหน่วยความจำหลักและมีการสับเปลี่ยนหรือสวิทซ์การทำงานระหว่างโปรแกรมต่างๆ เหล่านั้นอย่างรวดเร็วโดยที่ผู้ใช้จะไม่รู้สึกเลยว่ามีการสับเปลี่ยนการทำงานไปทำงานของคนอื่นอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วกว่ามนุษย์มากหลักการที่เครื่องเมนเฟรมสามารถทำงานหลายโปรแกรมพร้อมๆกันนั้น เรียกว่า "มัลติโปรแกรมมิง" (multiprogramming)
เครื่องเมนเฟรมเป็นเครื่องที่ได้รับความนิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ทั่วๆไปจัดเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งในช่วงปลาย ค.ศ 1950 บริษัท IBM จัดเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์โดยเกิดจากการมีส่วนแบ่งตลาดในการขายเครื่องระดับเมนเฟรมถึง 2 ใน 3 ของผู้ใช้เครื่องเมนเฟรมทั้งหมด เครื่องเมนเฟรมจะเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ต้องอยู่ในห้องที่ได้รับการอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละอองเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์
เครื่องเมนเฟรมนิยมมาใช้ในงานที่มีการรับและแสดงผลข้อมูลจำนวนมากๆ เครื่องรุ่นใหม่ๆจะได้การพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยทำงานพร้อมๆกันเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่มีจำนวณประมวลผลน้อยกว่าหน่วยเมนเฟรมจัดอยู่ในความเร็วของหน่วยเมกะฟรอป (megaflop) หรือการคำนวณหนึ่งล้านครั้งในหนึ่งวินาที
โปรเซสเซอร์ส่วนต่าง ๆ บนเมนเฟรม[แก้ไขต้นฉบับ]
การเขียนแผนผัง
ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ประโยชน์ของผังงาน
ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน
ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น
วิธีการเขียนผังงานที่ดี
ใช้สัญลักษณ์ตามที่กำหนดไว้
ใช้ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลจากบนลงล่าง หรือจากซ้ายไปขวา
คำอธิบายในภาพควรสั้นกะทัดรัด และเข้าใจง่าย
ทุกแผนภาพต้องมีลูกศรแสดงทิศทางเข้า – ออก
ไม่ควรโยงเส้นเชื่อมผังงานที่อยู่ไกลมาก ๆ ควรใช้สัญลักษณ์จุดเชื่อมต่อแทน
ผังงานควรมีการทดสอบความถูกต้องของการทำงานก่อนนำไปเขียนโปรแกรม
การเขียนผังงานสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
- ผังงานระบบ (System Flowchart)
ใช้แสดงขั้นตอนการทำงานภายในระบบงานหนึ่งๆ โดยกล่าวถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เช่น เอกสารเบื้องต้นคืออะไร วัสดุที่ใช้คืออะไร ใช้หน่วยความจำประเภทใด จะต้องส่งผ่านไปยังหน่วยงานใด วิธีการประมวลผลและการแสดงผลลัพธ์
- ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart)
ผังงานประเภทนี้จะแสดงถึงขั้นตอนของคำสั่งที่ใช้ในโปรแกรม การรับข้อมูล การประมวลผล การแสดงข้อมูล บางครั้งจะเรียกว่าผังการเขียนโปรแกรม สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนผังงาน
ผังงานโปรแกรม ( Program Flowchart )
การเขียนผังโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการใช้สัญลักษณ์มาตรฐานต่าง ๆ ที่เรียกว่า สัญลักษณ์ ANSI ( American National Standards Institute ) ในการสร้างผังงาน ดังตัวอย่างที่แสดงในรูปต่อไปนี้
ผังงานกับชีวิตประจำวัน
การทำงานหลายอย่างในชีวิตประจำวัน จะมีลักษณะที่เป็นลำดับขั้นตอน ซึ่งก่อนที่ท่านจะได้ศึกษาวิธีการเขียนผังงานโปรแกรม จะแนะนำให้ท่านลองฝึกเขียนผังงานที่แสดงการทำงานในชีวิตประจำวันวันก่อนเพื่อเป็นการสร้างความคุ้น เคยกับสัญลักษณ์รูปภาพต่าง ๆ ที่จะมีใช้ในผังงานโปรแกรมต่อไป
ตัวอย่าง 1 เขียนผังงานที่แสดงขั้นตอนการส่งจดหมาย

ตัวอย่างที่ 2 เขียนผังงานแสดงวิธีการรับประทานยา ที่แบ่งขนาดรับประทานตามอายุของผู้ทานดังนี้
• อายุมากกว่า 10 ปี รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา
• อายุมากกว่า 3 ปี ถึง 10 ปี รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา
• อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 3 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 ช้อนชา
• แรกเกิดถึง 1 ปี ห้ามรับประทาน
• อายุมากกว่า 10 ปี รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา
• อายุมากกว่า 3 ปี ถึง 10 ปี รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา
• อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 3 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 ช้อนชา
• แรกเกิดถึง 1 ปี ห้ามรับประทาน

ใบงานที่ 2 เรื่อง การเขียนแผนผัง (Flowchart)
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามดังต่อไปนี้ลงในสมุดของนักเรียน
1. บอกความหมายของ ผังงาน (Flowchart) มาอย่างละเอียด
2. บอกประโยชน์ของผังงาน มาอย่างละเอียด
3. บอกวิธีการเขียนผังงานที่ดี มาอย่างละเอียด
4. เขียนสัญลักษณ์และ ความหมายและการใช้ ในการเขียนผังงานโปรแกรมมาอย่างละเอียด
5. เขียนผังงาน (Flowchart) การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การทำอาหาร เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)